Home



สาระน่ารู้

- นับวันไข่ตก นับอย่างไรกันแน่?
- ปัจจัยการตั้งครรภ์/การมีบุตรยาก/ขั้นตอนการรักษา
- ภาวะโปรแลคตินสูงผิดปกติทำให้ไข่ไม่ตก
- การกระตุ้นการตกไข่
- ผู้ชายที่อยากมีลูกโปรดทราบ
- ความอ้วนและภาวะมีบุตรยาก
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการตั้งครรภ์
- การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
- ตกขาว...อย่าตกใจ
- ห้ายุทธวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผลและถูกสุขลักษณะ
- เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
- อาการและการวินิจฉัยการตั้งครรภ์
- เมื่อไรจึงจะเหมาะในการตรวจการตั้งครรภ์
- อาการปวดท้องจากการตกไข่
- อยากมีลูกแต่ไม่อยากไปหาหมอ
- มีเนื้องอกในมดลูก...ตั้งท้องได้ไหม
- สำคัญที่ใจ
- 20 สิ่งวิเศษสุดเมื่อท้อง
- ประจำเดือนขาดนานเท่าไรถึงรู้ว่าตั้งครรภ์
- เรื่องต้องพร้อมก่อนท้อง
- เซ็กซ์แบบไหนได้ลูกสมใจซะที
- อยากมีลูก...ทำยังไงให้ท้อง


 

 

 

 

อาการปวดท้องจากการตกไข่

โดย พล.ต.รศ.นพ.ธีรศักดิ์  ธำรงธีระกุล และทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากและผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช

อาการ
ปกติสตรีจะมีประจำเดือนโดยเฉลี่ยทุก 28 วัน และจะมีไข่ตกประมาณวันที่ 15 (โดยนับวันที่ประจำเดือนมาวันแรก เป็นวันที่ 1) หรือประมาณกลางเดือน ในช่วงกลางเดือนนี้จะมีสตรีบางคนมีอาการปวดท้องน้อยแบบเสียดๆ หรือถ่วงๆ แบบทันทีทันใดเป็นอยู่นานเป็นชั่วโมงแล้วค่อยๆ หายไปเอง (แต่มีบางคนเป็นนาน 2-3 วัน)

 

ความรุนแรงและความนานของอาการแตกต่างกันในแต่ละคน และแต่ละรอบเดือนไม่เป็นทุกคน (20% ของสตรีที่มีไข่ตกจะมีอาการแบบนี้) และคนที่เป็นก็ไม่จำเป็นต้องมีอาการทุกรอบเดือน อาจมีอาการบางเดือน และบางเดือนไม่มีอาการ อาจจะปวดสลับข้างกันในแต่ละเดือน หรือเป็นข้างเดียวกันทุกเดือน หรือเป็นทั้ง 2 ข้าง

การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยจากอาการที่สตรีมักมีอาการปวดระดูช่วงกลางรอบประจำเดือน และตรวจภายในแล้วไม่พบอาการผิดปกติ ถ้าอาการเป็นมากอาจมีการทำ Ultrasound เพื่อดูว่ามีโรคอะไรอย่างอื่นหรือไม่ อาการนี้บางทีอาจมีการวินิจฉัยผิดพลาดสำคัญผิดว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบได้เพราะอาการคล้ายกัน

การรักษา
อาการปวดไม่ได้เป็นอันตราย และไม่ได้เป็นสิ่งที่บอกว่าจะเป็นโรคใดโรคหนึ่งจึงไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงการพักผ่อน ลดกิจกรรมทางร่างกายบางอย่างขณะที่มีอาการ หรือรับประทานยาแก้ปวดชั่วคราวก็พอเพียง การรับประทานยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตกไข่สำหรับคนที่ไม่ต้องการมีบุตรก็เป็นวิธีป้องกันวิธีหนึ่ง

สาเหตุของการมีอาการปวดจากการตกไข่   มีผู้ตั้งสมมุติฐานอธิบายสาเหตุที่ทำให้มีอาการปวด คือ
1.  เกิดจากการบวมของรังไขจากถุงไข่ก่อนการตกไข่ ทำให้ผนังรังไข่ตึงจึงเกิดอาการปวด
2.  ผนังส่วนที่ถุงไข่จะแตกถูกดันโป่ง ทำให้เกิดการปวด
3.  น้ำจากถุงรังไข่ (บางทีมีเลือดออกมาด้วย) จากการแตกของถุงไข่ ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุผนังช่องท้อง
4.  จากการหดตัวเป็นคลื่นของท่อนำไข่หลังจากไข่ตก (คล้ายการหดตัวของหลอดอาหารเมื่อมีการกลืน) ทำให้มีอาการปวดในบางคน
5.  ช่วงที่มีการตกไข่อาจมีการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อ หรือ เนื้อเยื่อยืดหยุ่นของรังไข่ (เพราะมีสารฮอร์โมน prostaglandin มากระตุ้น) เพื่อบีบรัดให้ถุงไข่แตกทำให้มีอาการปวด

ประโยชน์ของอาการปวดท้องช่วงตกไข่
การมีอาการปวดท้องช่วงตกไข่อาจจะเป็นข้อดีในการเตือนเรื่องการจะมีบุตร หรือป้องกันการตั้งครรภ์ เพราะจะบอกได้ว่ามีการตกไข่เมื่อไร อย่างไรก็ตามเชื้ออสุจิอาจจะอยู่ที่มดลูกได้นานกว่า 2 วัน และอาการปวดท้องน้อยในสตรีก็มีหลายสาเหตุ การใช้อาการนี้เพียงอย่างเดียวเพื่อประโยชน์ดังกล่าวอาจจะไม่เป็นการเพียงพอ


อาการอื่นๆ ที่จะบอกว่ามีการตกไข่
สตรีควรสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายช่วงตกไข่นอกเหนือไปจากการปวดท้องน้อยด้วย ที่สังเกตได้ง่ายพบบ่อยที่สุดช่วงไข่จะตก คือ การมีมูกของปากมดลูกลักษณะใสๆ ออกมาทางช่องคลอดซึ่งจะพบได้เกือบทุกครั้งที่จะมีการตกไข่ 

 

อาการอื่นๆ อาจพบได้บ้างสำหรับบางคนในช่วงที่จะมีการตกไข่ คือ
การมีเลือดออกคล้ายประจำเดือนน้อยๆ ช่วงกลางรอบของประจำเดือน เกิดจากการลดลงของฮอร์โมนเอส-โตรเจนก่อนไข่จะตก พอไข่ตกฮอร์โมนก็พิ่มขึ้นทำให้เลือดหยุด
อวัยวะเพศภายนอกตึงเปล่งกว่าธรรมดา โดยเฉพาะข้างเดียวกับข้างที่ไข่ตก
ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบข้างเดียวกับที่ไข่ตกบวมโตขึ้นขนาดเมล็ดถั่วเหลือง บางคนมีอาการเจ็บด้วย

สตรีที่สนใจการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของตน ลองสังเกตอาการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วดูนะครับว่าเราเป็นอย่างที่คนอื่นเขาสังเกตศึกษากันมาหรือเปล่า


บทความนี้เรียบเรียงมาจาก  “http://en.wikipedia.org”