Home



สาระน่ารู้

- นับวันไข่ตก นับอย่างไรกันแน่?
- ปัจจัยการตั้งครรภ์/การมีบุตรยาก/ขั้นตอนการรักษา
- ภาวะโปรแลคตินสูงผิดปกติทำให้ไข่ไม่ตก
- การกระตุ้นการตกไข่
- ผู้ชายที่อยากมีลูกโปรดทราบ
- ความอ้วนและภาวะมีบุตรยาก
- ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการตั้งครรภ์
- การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดี
- ตกขาว...อย่าตกใจ
- ห้ายุทธวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผลและถูกสุขลักษณะ
- เตรียมตัวก่อนตั้งครรภ์
- อาการและการวินิจฉัยการตั้งครรภ์
- เมื่อไรจึงจะเหมาะในการตรวจการตั้งครรภ์
- อาการปวดท้องจากการตกไข่
- อยากมีลูกแต่ไม่อยากไปหาหมอ
- มีเนื้องอกในมดลูก...ตั้งท้องได้ไหม
- สำคัญที่ใจ
- 20 สิ่งวิเศษสุดเมื่อท้อง
- ประจำเดือนขาดนานเท่าไรถึงรู้ว่าตั้งครรภ์
- เรื่องต้องพร้อมก่อนท้อง
- เซ็กซ์แบบไหนได้ลูกสมใจซะที
- อยากมีลูก...ทำยังไงให้ท้อง


 

 

 

 

เมื่อไรจึงจะเหมาะในการตรวจการตั้งครรภ์
 

เมื่อมีการตกไข่  ไข่จะมีอายุให้เชื้ออสุจิมาปฏิสนธิได้เพียง  1 วันเท่านั้น  เมื่อปฎิสนธิแล้วจะแบ่งตัวและเดินทางมาที่โพรงมดลูก  ฝังตัวเข้ากับเยื่อบุโพรงมดลูกในวันที่ หลังการปฏิสนธิ  เมื่อตัวอ่อนฝังตัว  เราถือว่าเริ่มตั้งครรภ์  ตัวอ่อนจะเริ่มสร้างฮอร์โมน Beta HCG เพื่อกระตุ้นให้รังไข่สร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้เยื่อบุมดลูกสมบูรณ์มากขึ้น

Beta HCG  ถูกสร้างขึ้นมาจะเข้าไปในกระแสเลือด  จะมีความเข้มข้นมากขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากขึ้น  และจะขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ

เราใช้ฮอร์โมน Beta HCG  ในการตรวจภาวะการตั้งครรภ์โดยการเจาะเลือด  ตั้งแต่วันที่ 9-10  หลังจากปฏิสนธิ  และตรวจโดยการใช้ชุดตรวจปัสสาวะ  ตั้งแต่วันที่ 15 เป็นต้นไป  หลังจากวันดังกล่าว ความชัดเจนจะยิ่งมีมากขึ้น

ดังนั้น  ถ้าเราทราบวันตกไข่  หรือวันปฏิสนธิเราก็จะรู้ว่าควรจะตั้งครรภ์ได้เมื่อไร

ในกรณีที่ไม่ทราบวันตกไข่ ทราบแต่วันมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย ก็พอจะประยุกต์ใช้ได้คือ เมื่อมีเพศสัมพันธ์และเชื้ออสุจิเข้าไปที่ปากมดลูก  มันอาจจะมีชีวิตรอปฎิสนธิได้นานที่สุด 5 วัน  ( หมายความว่า  ถ้าไข่ตกภายใน 5 วัน หลังการมีเพศสัมพันธ์  ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้  ถ้าเกินนั้นไม่ควรจะมีการตั้งครรภ์ )

ดังนั้น ถ้ามีการตั้งครรภ์ ควรตรวจเลือดเป็นบวกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย 15 วัน  หรือตรวจปัสสาวะเป็นบวก หลังจากมีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย 20 วันขึ้นไป ถ้าตรวจแล้วเป็นลบก็แปลว่าไม่ตั้งครรภ์  ตัวอย่างเช่น  ไม่ทราบวันตกไข่  มีเพศสัมพันธ์ครั้งสุดท้าย มกราคม   ไข่ที่ตกวันที่ 1-5 มกราคม  มีโอกาสได้รับปฏิสนธิ  ไข่ที่ตกวันที่ 6 มกราคม  หรือหลังจากนั้นไม่ควรได้รับการปฏิสนธิ  ดังนั้น  ถ้าตรวจเลือดวันที่  15  มกราคม  หรือ ตรวจปัสสาวะวันที่ 20  มกราคม  ก็จะบอกได้เลยว่าตั้งครรภ์หรือไม่ตั้งครรภ์แน่นอน ( ถ้าตรวจถูกต้อง เครื่องมือตรวจไม่เสื่อมสภาพ ) ถ้าตรวจก่อนวันดังกล่าว  ถ้าได้ผลบวกก็น่าจะใช่  แต่ถ้าได้ผลลบ ควรตรวจซ้ำอีกครั้ง

โดยสรุปก็คือ การตรวจปัสสาวะเพื่อการทดสอบด้วยตนเองเป็นเพียงการทดสอบเบื้องต้นที่จะบอกว่าตนเอง “น่าจะ”  ตั้งครรภ์หรือไม่  ถ้าได้ผลบวก  แต่อาการของเราไม่ตรงกับอาการที่น่าจะท้อง  หรือตรงกันก็ตาม  แต่ผลตรวจแตกต่างออกไปก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์ที่ใช้วิธีตรวจที่แม่นยำมากขึ้น  เช่นการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมนการตั้งครรภ์  หรือการทำ อัลตราซาวนด์  เป็นต้น  ถ้าประจำเดือนขาด แต่ตรวจปัสสาวะแล้ว ไม่ตั้งครรภ์ หรือ ไม่ท้อง ก็แปลว่ารอบเดือนนั้นรังไข่ทำงานผิดปกติ หรือ ไม่ตกไข่ ก็ต้องหาสาเหตุกันต่อไป